เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและให้การวินิจฉัยเบื้องต้น โดยการที่จะวินิจฉัยให้แน่นอนนั้นบางครั้งต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการซึ่งให้บริการตรวจเลือด, อุจจาระ, ปัสสาวะ เป็นต้น การจะวินิจฉัยผู้ป่วยให้ถูกต้องและแม่นยำ แพทย์ต้องอาศัยข้อมูลจากประวัติการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมกันในทางปฏิบัติ
ในทางปฏิบัติ แพทย์ใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อ
- การวินิจฉัยโรค
- พิจารณาความรุนแรงของโรค หรือ บอกความรุนแรงของโรค
- ตัดสินใจให้การปฏิบัติต่อผู้ป่วย และ วางแผนการรักษา
- บอกความบังเอิญหรืออุบัติเหตุในการรักษา
- บ่งความเป็นพิษของยาที่ผู้ป่วยได้รับ
- ทำนายอาการตอบสนองของโรคต่อการรักษาหรือติดตามการรักษา
- ตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลทั่วไป
บริการของห้องปฏิบัติการกลาง
- การตรวจทางโลหิตวิทยา
- การตรวจทางจุลทรรศนศาสตร์คลินิก เช่น การตรวจปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น
- การตรวจทางเคมีคลินิก เป็นการตรวจวิเคราะห์สารเคมีในสารน้ำชนิดต่างๆของร่างกาย เช่น ซีรัม ปัสสาวะ น้ำ ไขสันหลัง เป็นต้น
- การตรวจภูมิคุ้มกันวิทยา เช่น การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี การตรวจหาสารก่อมะเร็งบางอย่าง เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการใช้เครื่องมือวิเคราะห์อัตโนมัติที่ทันสมัย มีระบบประกันคุณภาพผลการตรวจวิเคราะห์และระบบตรวจสอบที่ดี มีการบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผลการตรวจมีความแม่นยำเที่ยงตรง เชื่อถือได้ การรายงานผลการตรวจที่ดีจึงขึ้นอยู่กับการจัดเก็บสิ่งส่งตรวจและการรักษาสิ่งส่งตรวจ ก่อนนำไปวิเคราะห์เป็นสำคัญ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการสามารถรายงานผลที่ถูกต้องให้แก่แพทย์นำไปใช้ในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยต่อไป